วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

นโยบาย 3 ดี (3 D) ในสถานศึกษา

นโยบาย 3 ดี (3 D) ในสถานศึกษา



กรอบแนวคิด 
                การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านคือ ด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัด สามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพอีกด้านหนึ่งคือเป็นการบ่มเพาะ กล่อมเกลา ปลูกฝังและปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ ดำรงตน อยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด และหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมจัดการศึกษา จึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือกับ ทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy) ด้านคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) และด้าน
ภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free)

ด้านประชาธิปไตย (Democracy)
                มีความตระหนัก เห็นความสำคัญ ศรัทธา และเชื่อมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งรังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง
ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) 
                มีคุณธรรม จริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต
ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free) 
                รู้จักหลีกเลี่ยงห่างไกลยาเสพติด หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ  ที่เสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ  แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องการเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยา เมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไป จะทรุดโทรมลง ซึ่งยาเสพติดนี้  อาจรวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย




ยุทธศาสตร์ "5 รั้วป้องกัน"
                คือยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มุ่งสร้างกิจกรรม สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างกระบวนการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและประชาชนอย่างครบวงจรเพื่อป้องกันจุดอ่อนและสร้างเกราะป้องกันที่สกัดกั้นไม่ให้ยาเสพติดรุกล้ำเข้ามา

รั้วชายแดน:
          ยาเสพติดส่วนใหญ่มีแหล่งผลิตมาจากตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้านภารกิจในการป้องกันปัญหายาเสพติดจะมีกองบัญชาการกองทัพไทย กอ.รมน.กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการสกัดกั้นและปลุกพลังชุมชนตามแนวชายแดนมาเป็นแนวร่วมสำคัญเพื่อป้องกันยาเสพติดไม่ให้แทรกซึมเข้ามา

รั้วชุมชน:
          หมู่บ้านและชุมชนที่เข้มแข็งย่อมช่วยในการแก้ปัญหายาเสพติดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนด้วยการสนับสนุน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่างๆ โดยกระทรวงมหาดไทย กอ.รมน. สำนักงาน ป.ป.ส. มีบทบาทสำคัญที่จะประสานความร่วมมือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และ อสม.ในการสร้างรั้วให้กับชุมชนเพื่อป้องกันภัยยาเสพติด

รั้วสังคม
          เป้าหมายมุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน ภารกิจสำคัญคือ การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ ดำเนินการขยายพื้นที่และกิจกรรมเชิงบวกแก่เยาวชนให้มากขึ้น อาทิ ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ ฯลฯ เพื่อดึงเยาวชนออกมาให้ไกลจากยาเสพติด ภารกิจนี้ทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างรั้วส่วนนี้

รั้วโรงเรียน
          การมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นที่มาของพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องอื่นๆ ตามมา เช่น หนีเรียน มั่วสุม ก้าวร้าว เสพยาเสพติด ฯลฯ การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชนจึงมุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาทุกระดับภารกิจนี้มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลและค้นหาผู้เสพ/ผู้ค้า/เยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยมีครูเป็นกลไกสำคัญที่จะอบรมและปลูกฝัง รวมทั้งดูแลสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนด้วยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในสถานศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนด้วยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในสถานศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเหล่านี้

 รั้วครอบครัว:
          ครอบครัวที่เข้มแข็งย่อมส่งผลต่อพื้นฐานความเข้มแข็งของประเทศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักที่จะเข้ามาส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันยาเสพติด เพื่อทำให้ความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันยาเสพติด เพื่อทำให้ความเข้มแข็งของครอบครัวกลับคืนมาเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความพร้อมในการดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่างแท้จริง



          "ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงและศักยภาพการพัฒนาของประเทศ กระทรวงมหาดไทยจึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยได้กำหนดกระบวนงานในการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย การอำนวยการโดยเสริมสร้างสมรรถนะ สร้างกระแสต่อต้านยาเสพติดตรวจสอบข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง โดยการประชาคมวิธีลับ การปราบปราม โดยสนับสนุนการหาข่าว การจับกุมดำเนินคดี รวมทั้งเสริมสร้างบทบาทของเจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองและอาสาสมัครต่างๆ การบำบัดฟื้นฟูโดยนำผู้เสพ ผู้ติด เข้ารับการบำบัดรักษาเน้นการใช้ใช้ชุมชนบำบัดโดยสถาบันศาสนาเพื่อฟื้นฟูด้านจิตใจและอาชีพ ประการสุดท้ายคือการป้องกัน ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันชุมชนและสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดสัมฤทธิผลได้อย่างแท้จริง"    

โทษและพิษภัยของสารเสพติด

โทษและพิษภัยของสารเสพติด
                เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ
                1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
                2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
                3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
                4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
                5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
                6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
                7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทันเริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุกกระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
                1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแครอบครัว
                2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
                3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
                4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง


 
โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
                    เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง   เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต  หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว  เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

โทษทางร่างกาย และจิตใจ
                     1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์            จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้
                    2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
                     3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
                    4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
                    5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
                    6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
                    7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก           
 กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
                     1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
                    2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
                    3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
                    4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

โทษพิษภัยต่อสังคมและเศรษฐกิจ
                  ผู้ที่ติดสารเสพติด นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสทางสังคมแล้วยังอาจ มีพฤติกรรมนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ แก่สังคมได้ เพราะ
                    1. ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ ต่อตนเองและ ผู้อื่นได้ง่ายตลอดจนเป็นปัญหาของโรคบางอย่างเช่น โรคเอดส์
                    2. ถ่วงความก้าวหน้าของชุมชน สังคม โดยเป็นภาระต่อส่วนรวมที่ประชาชนต้องเสียภาษีส่วนหนึ่งมาใช้ในการปราบปรามบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติด
                    3. สูญเสียแรงงานโดยไร้ประโยชน์บั่นทอนประสิทธิภาพของผลผลิต ทำให้รายได้ของชาติในส่วนรวมกระทบกระเทือน และเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ
                    4. เนื่องจากสภาพเป็นคนอมโรคมีความประพฤติและบุคลิกลักษณะเสื่อมจนเป็นที่รังเกียจของสังคม ทำให้เป็นคนไร้สติในวงสังคม โอกาสที่จะประกอบกิจที่ผิดศีลธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งเสพย์ติด เช่น พูดปด ขโมย หรือกลายเป็นอาชญากร เพื่อแสวงหาเงินซื้อ
                สารเสพติดสิ่งเหล่านี้ล้วนทำลายอนาคตทำลายชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูลโทษที่ก่อให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติรัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคน และงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า  เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ความมั่นคงของประเทศชาติถูกกระทบกระเทือน ประชาชนเดือนร้อนเพราะเหตุอาชญากรรม ประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ติดสารเสพติดเป็นเยาวชน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติด ให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติ







บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
·                   ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
·       เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
·       มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
·       ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
·       มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโทษจำคุกตั้งแต่ 2-15ปีและปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
·       ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
·       มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
·       ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท

สถานบำบัด
                1. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2528111-7
                2. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2461946
                3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร.5310080-8
                4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โทร.4681116-20
                5. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 4112191
                6. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.2512970
                7. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ สี่พระยา โทร.2364055
                8. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
                9. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี

อาการของผู้เสพและสาเหตุพฤติกรรมเสียงต่อการติดสารเสพติด

อาการของผู้เสพสารเสพติด
                ผู้เสพสารเสพติดมีลักษณะอาการที่สังเกตเห็นได้แตกต่างกันไปในแต่ละราย ทั้งทางด้านร่างกายและพฤติกรรม ดังนี้
1. ความประพฤติเปลี่ยนไป ละเลยกิจวัตรประจำวัน ระเบียบวินัยลดหย่อน
2. เจ้าอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียวผิดปกติ โมโหง่าย ก้าวร้าว อาจมีประสาทหลอน
3. หน้าตาเฉยเมยแบบคนที่มีความทุกข์
4. เบื่อหน่ายการงานและการเรียน ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอน
5. มีลับลมคมใน หาโอกาสแยกตัว
6. ใช้เงินเปลืองผิดปกติ มีหนี้สิน บางครั้งอาจมีการขโมยทรัพย์สิน
7. ผอมซีด สุขภาพทรุดโทรม
8. อาจมีอุปกรณ์เกี่ยวกับสารเสพติด เช่น กระดาษตะกั่ว หลอดกาแฟ ไม้ขีด หรือหลอดฉีดยาอยู่ใกล้ตัว



สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
                สาเหตุของปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด ประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการ ดังนี้
                1) ยาและฤทธิ์ยา ตามความหมายของสารเสพติด จะเห็นว่า สารเสพติดถ้าใช้เป็นเวลานานๆ จะเกิดความเคยชิน โดยต้องการเพิ่มปริมาณมากขึ้น จะมีอาการขาดยาไม่ได้ ทั้งนี้สารเสพติดจะออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย จนทำให้มีโอกาสติดสารเสพติดนั้น หรือทำลายร่างกายและสุขภาพได้
                2) ตัวผู้เสพ เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
                2.1) ปัจจัยด้านร่างกาย จากสถานการณ์เจ็บป่วยทางร่างกาย และใช้ยาบำบัดรักษา เช่น การใช้อมร์ฟีนแก้ปวดแก่ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด โรคกระดูก โรคมะเร็ง เป็นต้น จนทำให้เป็นสาเหตุการติดสารเสพติดได้
                2.2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ อารมณ์ และบุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวนอารมณ์อ่อนไหว ขาดความมั่นใจในตนเอง สติปัญญาต่ำ ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยด้วยโรคจิตและโรคประสาท ตลอดจนพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ความคึกคะนอง การเลียนแบบ เป็นต้น บุคคลประเภทนี้เสี่ยงต่อการมีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงได้ง่าย การขาดความรับผิดชอบ การขาดความมั่นคงในอารมณ์และจิตใจของตนเอง สามารถเป็นสาเหตุของการใช้จนติดสารเสพติดได้ง่าย
                3) สิ่งแวดล้อม เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
                3.1) ปัจจัยด้านครอบครัว จากปัญหาครอบครัว เช่น การขาดความรักความอบอุ่น การเข้มงวด หรือละเลยจนเกินไป ความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคี การขาดความสนใจ การขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว เป็นต้น
                3.2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากฐานะความยากจนของครอบครัวจนเป็นสาเหตุของการต้องกลายเป็นผู้ขายและติดสารเสพติดในที่สุด
                3.3) ปัจจัยด้านสังคม เนื่องจากค่านิยมที่ผิดๆ ของตนเอง เช่น การเป็นที่ยอมรับผูกมิตรกับกลุ่มเพื่อน หรือสังคม การเลียนแบบในเรื่องบุหรี่ สุรา สารเสพติดต่างๆ เป็นต้น



สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
                 จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
                 1. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาท ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือ ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
                2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
                3. การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา  ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี  สามารถรักษาโรคได้บางชนิด  เป็นต้น  ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

 สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
          ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว  รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร  ขนม  หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ   กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

 สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
                1. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ  เป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
                2. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
                 3. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

สาเหตุอื่นๆ
                 การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป  เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
             1. คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม  เช่น  กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น  โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
             2.การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใครหรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
             3. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท

ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท  
                ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน อาซีทอร์ฟีน อีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ฯลฯ
                ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน (โคเคน) โคเดอีน ฯลฯ
                ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเดอีน เป็นส่วนผสมยาแก้ท้องเสียที่มีไดฟีน็อคซิเลท เป็นส่วนผสม ฯลฯ
                ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
                ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
                                               
 ยาเสพติดแบ่งตามฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 4 ประเภท
               1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น กลุ่มฝิ่น (ฝิ่นยา มอร์ฟีน โคเดอีน เฮโรอีน ฯลฯ) ยาระงับประสาท และยานอนหลับ (เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล ฯลฯ) ยากล่อมประสาท (เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ) สารระเหย (ทินเนอร์น้ำมันเบนซิน ฯลฯ) เครื่องดื่ม มึนเมา (เหล้า เบียร์ วิสกี้ ฯลฯ)
                2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน (โคเคน) บุหรี่ กาแฟ
                3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย
                4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสาทผสมร่วมกัน เช่น กัญชา
               
วัตถุออกฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
                ประเภท 1 ดีเอ็มที เมสคาลีน แอลเอสดี เดตราไฮโดรแคนนาบินอล ฯลฯ
                ประเภท 2 อีเฟดรีน เมธิลเฟนีเดท เซโคบาร์บิตาล เมธาควาโลน
                ประเภท 3 อะโมบาร์บิตาล ไซโคลบาร์บิตาล กลูเตธิไมด์ เมโปรบาเมท ฯลฯ
                ประเภท 4 บาร์บิตาล ฟีโนบาร์บิดาล ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ
                                

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชน
                 การป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจกทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน เพื่อให้ผลของการป้องกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
             1. การสร้างเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (Family communication) บุคคลในครอบครัวมีส่วนสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นเกราะป้องกันการใช้สารเสพติดได้


             2. ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและผลกระทบต่อการใช้สารเสพติด ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบง่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร.2527962, 2525932 และที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.2459350-9
             3. พ่อแม่ผู้ปกครองควรช่วยให้วัยรุ่นยอมรับและเข้าใจตนเอง ยอมรับในข้อดี
ข้อเสียของตนเองเพื่อป้องกันการแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติด























             4. โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดการใช้สารเสพติดในโรงเรียน และชุมชนได้




การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น
    - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน
    - ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้
    - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำ โฆษณา
    - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน ใช้บ่อยๆ ทำให้เกิดการเสพติด ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
                 ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
                 ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปใน ทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
                ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
                ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง
                ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
               ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
               ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
               ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง













อิทธิพลของเพื่อน
                 เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไปเสียผู้เสียคน ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูงให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบกมือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว

                ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติดด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุน ที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลาและอนาคตกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า

เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด
                 เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จำเป็น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดให้กับเยาวชน นั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู้สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธ์ในการขายแบบขายตรง(Direct sale) ในกลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิทจึงไม่กล้าเปิดเผยความผิดของเพื่อน และไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้ายาเสพติดที่จ้องจะดูดเงิน ค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา

ติดกีฬาก็มีความสุขได้
                 การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของ เยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมี ชนิดหนึ่งชื่อ เอนโดฟีนออกมา ซึ่งสารชนิดนี้ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุข ผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร เอนโดฟีนอยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด


ปัญหาและผลกระทบจากการใช้สารเสพติด
                ปัญหาสารเสพติดส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศ รวมทั้งความมั่นคง ความสงบสุขของสังคมและประเทศชาติ ผลใกล้ตัวจากปัญหาสารเสพติดมากที่สุด คือ ก่อให้เกิดความทุกข์อย่างใหญ่หลวงในครอบครัวที่มีลูกหลานติดสารเสพติด