วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท

ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท  
                ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน อาซีทอร์ฟีน อีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ฯลฯ
                ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน (โคเคน) โคเดอีน ฯลฯ
                ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเดอีน เป็นส่วนผสมยาแก้ท้องเสียที่มีไดฟีน็อคซิเลท เป็นส่วนผสม ฯลฯ
                ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
                ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
                                               
 ยาเสพติดแบ่งตามฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 4 ประเภท
               1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น กลุ่มฝิ่น (ฝิ่นยา มอร์ฟีน โคเดอีน เฮโรอีน ฯลฯ) ยาระงับประสาท และยานอนหลับ (เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล ฯลฯ) ยากล่อมประสาท (เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ) สารระเหย (ทินเนอร์น้ำมันเบนซิน ฯลฯ) เครื่องดื่ม มึนเมา (เหล้า เบียร์ วิสกี้ ฯลฯ)
                2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน (โคเคน) บุหรี่ กาแฟ
                3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย
                4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสาทผสมร่วมกัน เช่น กัญชา
               
วัตถุออกฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
                ประเภท 1 ดีเอ็มที เมสคาลีน แอลเอสดี เดตราไฮโดรแคนนาบินอล ฯลฯ
                ประเภท 2 อีเฟดรีน เมธิลเฟนีเดท เซโคบาร์บิตาล เมธาควาโลน
                ประเภท 3 อะโมบาร์บิตาล ไซโคลบาร์บิตาล กลูเตธิไมด์ เมโปรบาเมท ฯลฯ
                ประเภท 4 บาร์บิตาล ฟีโนบาร์บิดาล ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ
                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น