วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

การปฏิเสธในการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด
                 1. หลักการปฏิเสธที่ดี ต้องแสดงถึงความตั้งใจอย่างจริงจัง โดยใช้ท่าทาง คำพูดน้ำเสียง รวมทั้งมีการแสดงเหตุผลประกอบ และใช้ความรู้สึกร่วมในการใช้หตุผลเพื่อปฏิเสธโดยมีการแสดงความขอบคุณที่ชักชวน และควบคุมตนเอง อย่าหวั่นไหวกับการชักชวน
                2. ขั้นตอนการปฏิเสธ กล่าวปฏิเสธคำชักชวน พร้อมแสดงท่าทางปฏิเสธอย่างจริงจัง โดยใช้คำพูดและท่าทางที่สุภาพ ไม่ก้าวร้าว โดยใช้เหตุผลและความรู้สึกประกอบการปฏิเสธ แต่ถ้าถูกเซ้าซี้หรือสบประมาทต้องควบคุมตนเองให้ดี อย่าหวั่นไหว และเลือกใช้วิธีในการปฏิเสธที่เหมาะสมตามสถานการณ์               
                3. ลักษณะของคำพูดและท่าทางที่ควรใช้ในการปฏิเสธ ในการปฏิเสธไม่ใช้คำหยาบ พูดจาก้าวร้าว มี่ใช้คำพูดที่แสดงอารมณ์ ไม่ใช้คำพูดลอยๆ หรือคำพูดประชดประชัน ไม่พูดกล่าวโทษหรือให้ร้าย โดยควรใช้คำพูดที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล ควรใช้ท่าทางประกอบคำพูด มีสีหน้าสอดคล้องและแสดงความเข้าใจ และพูดอย่างตรงไปตรงมา ตรงกับความรู้สึกของตนเอง ไม่เสแสร้ง




ลักษณะผู้ใช้ยาเสพติด 
1. ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ) 
2. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง 
3. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น 
4. ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท) 
5. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและ เพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ 
6. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 
7. ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท 
8. เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต 
9. มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท 
10. ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท 
11. มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท 
12. ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 
13. มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท 
14. ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
15. สาร ระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย




ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 กำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำสารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลายประการและกำหนด ให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
1. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสารระเหยต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุ สารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าวผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
2. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่นซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
4. ห้ามไม่ให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่ายกายหรือจิตใจ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
5. ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ 
พึงระลึกเสมอว่า การเสพติดสารระเหยนอกจากจะเป็นโทษต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น